Blog นี้เขียนขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ Physic และเรื่องต่าง ๆ

Physic (ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง)

                                                 ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง

1.  การกระจายของแสง (Dispersion of light)
เมื่อฉายแสงขาวจากหลอดไฟประเภทจุดไส้สว่าง หรือแสงจากดวงอาทิตย์ให้ผ่านปริซึม แสงขาวจะกระจายออกเป็นแสงสีต่างๆ เรียงตามลำดับความถี่มากไปน้อย คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม และ แดง ดังรูปทแถบของแสงสีที่กระจายออกจากแสงขาว เรียกว่า สเปกตรัมของแสงขาว (Spectrum of white light)
              ในการกระจายของแสง แสงสีต่างๆ จะมีมุมหักเหแตกต่างกันโดยแสงสีแดงซึ่งมีพลังงานต่ำสุด ความสามารถในการหักเหจึงน้อยมุมหักเหจึงมีค่ามากสุด ทำให้มุมเบี่ยงเบนของแสงสีแดงมีค่าน้อยที่สุด ดังรูปที่
2. การสะท้อนกลับหมดของแสง
                          โดยปกติเมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง แสงจะเกิดการหักเหโดยมุมที่แสงหักเหจะมีค่าจะมีค่ามากขึ้นถ้ามุมตกกระทบของแสงมากขึ้น เมื่อมุมตกกระทบมีค่ามากกว่ามุมวิกฤต ในกรณีเช่นนี้แสงจะสะท้อนกลับหมด ดังรูป


               อุปกรณ์ที่ใช้หลักการสะท้อนกลับหมดมีมากมาย เช่น กล้องส่องทางไกลที่มีปริซึมทำให้แสงสะท้อนกลับหมด เครื่องบันทึกลายนิ้วมือที่มีปริซึมช่วยจับภาพลายนิ้วมือ เส้นใยนำแสง มีลักษณะเป็นท่อทรงกระบอกกลมทำให้แสงสะท้อนกลับไปมาในท่อ ซึ่งใช้ประโยชน์ในการสื่อสาร และเป็นกล้องขนาดเล็กตรวจภายในหรือไฟเบอร์สโคป

3. รุ้ง (Rainbow)
                            เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับการหักเหและสะท้อนกลับหมดของแสงผ่านละอองน้ำในชั้นบรรยากาศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดหลังฝนตก และเกิดฝั่งด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เสมอ ซึ่งลักษณะการหักเหและสะท้อนกลับหมดในละอองน้ำในชั้นบรรยากาศเกิดได้  2 แบบนี้ ดังรูป ซึ่งทำให้เกิดรุ้งปฐมภูมิและรุ้งทุติยภูมิ และแต่ละคนจะมองเห็นสีรุ้งได้ต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งการยืน





                                         การเกิดรุ้งปฐมภูมิ    
                                                        การเกิดรุ้งทุติยภูมิ






4. ภาพลวงตาหรือมิราจ (Mirage)
  เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการหักเหของแสงในชั้นบรรยากาศแล้วมีการสะท้อนกลับหมด เนื่องจากความหนาแน่นของอากาศในชั้นต่างๆ ไม่เท่ากัน
ที่มา http://anuchachatwong.blogspot.com/2011/02/blog-post.html
5. การเกิดสีบนท้องฟ้า 
                             แสงสีต่างๆมีความสามารถในการกระเจิงของแสงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับพลังงานของแสงสีนั้น โดยพลังงานของแสงมากการกระเจิงของแสงจะมีค่ามาก นั่นหมายความว่าแสงสีม่วงจะมีความสามารถในการกระเจิงของแสงมากที่สุด

                          ในเวลากลางวันแสงอาทิตย์ทำมุมชันกับพื้นโลก แสงจะเดินทางผ่านบรรยากาศเป็นระยะทางสั้นๆ  แสงสีม่วง คราม และน้ำเงิน จะกระเจิงเต็มท้องฟ้า  เราจึงมองเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า ในยามเช้าและยามเย็นแสงอาทิตย์ทำมุมลาดกับพื้นโลก แสงจะเดินทางผ่านบรรยากาศเป็นระยะทางยาว  แสงสีม่วง  ครามน้ำเงิน  ซึ่งกระเจิงได้ดีที่สุด  จะกระเจิงทิ้งไปมากเพราะระยะทางมาก ทำให้เหลือแสงสีแดง  ส้ม  ซึ่งกระเจิงได้น้อยมากเข้าตาเร
6. พระอาทิตย์ทรงกลด    
                            เกิดขึ้นจากบรรยากาศของโลกในชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) ซึ่งเป็นบรรยากาศชั้นล่างสุดและเป็นชั้นที่มีกลุ่มเมฆจำนวนมาก มีอากาศเย็นจัดตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น จนทำให้ละอองน้ำในอากาศ ณ เวลานั้นๆ แข็งตัวเป็นเกล็ดน้ำแข็งอนุภาคเล็กๆ จำนวนมากลอยอยู่บนท้องฟ้า เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น และส่องแสงทำมุมกับเกล็ดน้ำแข็งได้อย่างเหมาะสม จะเกิดการหักเหและการสะท้อนของแสง ทำให้เกิดเป็นแถบสีรุ้งคล้ายการเกิดรุ้งกินน้ำหลังฝนตก


1 ความคิดเห็น: